ระบบรับสมัครนักเรียนใหม่

Student Admission

info

จัดการรอบรับสมัครนักเรียนใหม่

ที่เมนด้านซ้ายให้กดเข้า "จัดการข้อมูลรอบสมัคร" จะแสดงหน้าจอ "จัดการรอบรับสมัครนักเรียนใหม่"

การเพิ่ม/แก้ไขข้อมูลรอบสมัคร
    1. แสดงเฉพาะ 📢 ประกาศหน้าหลัก (ไม่เปิดรับสมัคร)
    2. เปิดรับสมัครสอบ 📢 และชำระเงินค่าสมัคร
    3. ปิดรับสมัคร 📢 ประกาศผลสอบ (มีผลตั้งค่าการแสดงวันที่ประกาศผลสอบด้วย)
    4. ปิดรับสมัคร 📢 ประกาศผลสอบ และเปิดให้บันทึกแบบสารสนเทศ
    5. ปิดรับสมัคร 📢 เปิดใบมอบตัวและใบแจ้งชำระเงิน
    6. ปิดรับสมัคร 📢 เปิดให้บันทึกแบบสารสนเทศ / เปิดให้บันทึกใบมอบตัว / ใบแจ้งชำระเงิน
    7. ปิดรับสมัคร 📢 เปิดให้บันทึกแบบสารสนเทศ / เปิดให้บันทึกใบมอบตัว /แต่ปิดใบแจ้งชำระเงิน
    8. ปิดทุกรายการ (ปิดแสดงทั้งหมด ไม่ปรากฎบนหน้าเว็บ)
  • คำอธิบายการการสมัคร : แสดงในหน้าแรก ก่อนกดฟอร์มสมัคร (Step Wizard)
  • คำอธิบายเมื่อส่งใบสมัครแล้ว (ท้ายฟอร์ม) : ข้อความแบบยาวส่วนสุดท้ายของจอสมัคร ก่อนที่จะกดบันทึกยืนยันส่งแบบสมัคร (เหมาะสำหรับแจ้งข้อมูล / แจ้งเตือน)
  • ประกาศในหน้าหลัก (หลังเข้าระบบสมัครแล้ว) : ข้อความแบบยาวหลังกดยืนยันการสมัครและได้เลขที่ผู้สมัคร
  • ส่วนหลังปิดรับสมัคร: วันที่ประกาศเลขที่นั่งสอบ / วันที่สอบ / วันที่ประกาศผลสอบ
  • คำประกาศผลที่ 1 เช่น ผลสอบข้อเขียน (ก่อนผลที่ 2) (ความยาว 1-3 บรรทัด)
  • คำประกาศผลที่ 2 เช่น ผลสอบสัมภาษณ์ (เพื่อกดเข้าสารสนเทศ) (ความยาว 1-3 บรรทัด) (*** ถ้ามีข้อเดียวให้ใช้ข้อ 2 ในการประกาศผล ***)
  • ข้อปฏิบัติของการเข้าสอบ คำอธิบายประกอบบัตรที่นั่งสอบ / ข้อความกำหนดการสอบ เป็นคำอธิบายส่วนล่างสำหรับหน้าจอพิมพ์ที่นั่งสอบ
  • ประกาศข้อมูลในหน้าประกาศผลสอบ : ข้อความแบบยาวส่วนสุดท้ายของประกาศผลสอบ (หลัง Login โดยผู้สมัคร)
จากนั้นกดบันทึก ระบบอาจจะแจ้งเตือนให้กรองข้อมูลให้ครบถ้วน


ปุ่มที่แสดงจะแตกต่างตามกำหนดของช่วงเวลาที่ทางเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบเป็นคนเปิดให้ใช้งาน ซึ่งจะแสดงแตกต่างกันไป

info

รายชื่อผู้สมัครเข้าเรียน

เมดูด้านซ้ายมีเมนู "จัดการรายชื่อผู้สมัครทั้งหมด" ให้กดเพื่อเข้า รายชื่อผู้สมัครเข้าเรียน

  • จากนั้นให้เลือกตัวกรองข้อมูลตามรอบการสมัคร เพื่อแสดงรายชื่อผู้สมัคร
  • ตัวกรองนี้จะช่วยแยกรายชื่อเฉพาะที่ถูกกำหนดที่นั่งสอบแล้วหลังสุ่มที่นั่ง (ชำระเงินแล้ว)
  • ตัวกรองข้อมูล "สถานะผู้สมัคร" จะแสดงรายชื่อแยกตามสถานะหลังเลือก ได้แก่ แสดงทุกรายการ, สมัครเรียน (หลังกรอกฟอร์มสมัคร), ​ผ่านสอบข้อเขียน (หลังบันทึกสถานะผ่าน / Import รายชื่อผู้สอบผ่าน), ผ่านสอบสัมภาษณ์ (หลังบันทึกสถานะผ่าน / Import รายชื่อผู้สอบผ่าน), ยกเลิก
  • ตารางราชื่อด้านบนสามารถพิมพ์ข้อความค้นหา (search) ภายในตาราง, ส่งออกข้อมูลในรูปแบบ Excel (.xls), PDF, Print
  • ตารางราชื่อแสดงคอลัมภ์ : คำสั่ง (ปุ่มทำงาน), สถานะการสมัคร, เลขที่ใบสมัคร, เลขที่นั่งสอบ, ห้องสอบ, สถานที่สอบ, ภาพถ่าย (อัปโหลดตอนสมัคร), คำนำหน้า,ชื่อผู้สมัคร,นามสกุล,ประเภท, โควต้า?, ผลสอบ
  • ปุ่ม เป็นการเข้า Login ทางลัดเพื่อเข้าสิทธิ์ของผู้สมัคร
  • ข้อมูลแสดงรายการทั่วไปที่ต้องการแก้ไขให้กดปุ่มแก้ไข
  • เมื่อต้องการเพิ่มผู้สมัครใหม่เองให้กดปุ่ม Create an application หรือหากต้องการแก้ไขให้กด
  • วันเกิด และ บัตรประชาชนผู้สมัครเป็นข้อมูลในการเข้าระบบของผู้สมัคร
  • คุณสามารถแก้ไขข้อมูลผู้ตามที่แสดงในภาพ สำหรับกรอบแดงจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสำหรับผู้ดูแลระบบโดยตรง ได้แก่ สถานะใบสมัคร, สมัครเข้าหลักสูตร, รหัสผู้สมัคร (สร้างอัตโนมัติหลังสมัคร), รหัสที่นั่งสอบ (สร้างอัตโนมัติจากการสุ่มลำดับที่ยั่งสอบ), ชื่อแผนการเรียน, ชื่อโรงเรียนเดิม, จังหวัดโรงเรียนเดิม
  • จะมีปุ่มลบ ข้อมูลกรณีที่ต้องการลบถาวรเพื่อให้ระบบสามารถรันเลขที่สมัคร หรือเลขที่นั่งสอบได้
  • ข้อมูลที่นำเข้าเป็นรายงานผลผ่าน Excel หรือแก้ไขได้ในฟอร์ม : ผู้สมัครโควต้าหรือไม่? ห้องสอบ, สถานที่สอบ, ผลการสอบ (ม.1/4) ข้อความแจ้งหลังผ่านสอบข้อเขียน, ข้อความแจ้งหลังผ่านสอบสัมภาษณ์
  • แก้ไขภาพ/เอกสารปรกอบ : ภาพถ่ายชุดเครื่องแบบนักเรียน, ภาพถ่ายบัตรประชาชน, หลักฐานการศึกษา (กำลังศึกษา) ได้ในฟอร์ม
  • Log Info สำหรับผู้ดูแลระบบ เป็นส่วนของแบบข้อมูลสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้สมัครคนนี้ได้กรอกเข้ามาตั้งแต่แบบฟอร์ม, แบบสารสนเทศ, ใบมอบตัว

* พบปัญหาผู้สมัคร/ผู้ปกครองเข้าระบบไม่ได้ให้เช็ค วันเกิ และบัตรประชาชนในข้อมูลผู้สมัครว่าถูกต้องหรือไม่?
info

การสุ่มเลขที่นั่งสอบ

เพื่อให้การจัดที่นั่งสอบเป็นไปอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และลดความเสี่ยงในการทุจริต ระบบโปรแกรมสุ่มที่นั่งสอบจึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการจัดสรรตำแหน่งที่นั่งของผู้เข้าสอบแบบอัตโนมัติ โดยไม่สามารถคาดเดาหรือเลือกตำแหน่งล่วงหน้าได้ ผู้ใช้งานสามารถกำหนดข้อมูลพื้นฐาน เช่น รายชื่อผู้เข้าสอบ ห้องสอบ และจำนวนที่นั่ง จากนั้นระบบจะดำเนินการสุ่มและจัดเรียงที่นั่งให้อย่างเหมาะสม พร้อมแสดงผลในรูปแบบที่สามารถพิมพ์หรือส่งต่อเพื่อประกาศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
สำหรับการดำเนินการสุ่มที่นั่งสอบ ระบบได้ออกแบบให้สามารถจัดการได้หลากหลายรูปแบบตามประเภทของการสมัครสอบ เพื่อความเหมาะสมและเป็นระเบียบ โดยแบ่งลักษณะการสุ่มออกเป็น 5 กรณี ได้แก่ (1) กรณีการสมัครสอบแบบ Pre-Test ระบบจะทำการสุ่มที่นั่งสอบให้กับผู้สมัครทุกรายโดยไม่แยกประเภท (2) กรณีการสมัครสอบทั่วไป ระบบจะสุ่มแยกตามกลุ่มผู้สมัคร ได้แก่ กลุ่มโควต้า และกลุ่มทั่วไปที่ไม่ใช่โควต้า (3) ในกรณีการสมัครสอบเพื่อเข้าเรียนระดับชั้นต่าง ๆ ระบบจะทำการสุ่มแยกตามภาคการเรียน ได้แก่ ภาคปกติ และภาค English Program (EP) (4) การกำหนดเลขที่นั่งสอบจะดำเนินการเฉพาะผู้สมัครที่มีสถานะชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และ (5) ข้อมูลสถานที่สอบจะถูกบันทึกและจัดสรรตามเงื่อนไขหรือข้อมูลที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ล่วงหน้าในระบบ เพื่อให้การจัดที่นั่งมีความชัดเจนและตรวจสอบได้
ในหน้าจัดการรายชื่อผู้สมัครเรียน ด้านบนขวาจะมีปุ่ม สุ่มเลขที่นั่งสอบ ปุ่มสุ่มเลขที่นั่งสอบจะแสดงหน้าจอให้กำหนดรอบ เลขที่นั่งเริ่มต้น เงื่อนไขฯ ระบบจะสุ่มที่นั่งสอบทั้งหมดที่มีในรอบนั่นๆ ตามที่มีสถานะชำระเงินแล้ว

  • กดยืนยัน จะคำนวณที่นั่งสอบไล่ พร้อมทั้งที่นั่งสอบตามตารางฐานข้อมูลห้องสอบให้อัตโนมัติ
  • หลังจากคำนวณเสร็จแล้วสามารถกลับไปดูข้อมูลที่นั่งสอบในหน้าแจ้งยอดชำระเงิน หรือ หน้าจอจัดการรายชื่อผู้สมัคร
  • ให้เช็คที่เลขที่นั่งสอบทั้งหมดได้จากหน้ารายชื่อนี้ หรือสามารถ พิมพ์ใบที่นั่งสอบรวมเพื่อใช้ติดโต๊ะสอบได้
info

จัดการแจ้งชำระเงินค่าสมัครเรียน

  • หน้าจัดการรายการแจ้งชำระเงินแบบ Bill payment เป็นหน้าสำหรับผู้ดูแลระบบใช้ในการตรวจสอบและอนุมัติการชำระเงินค่าสมัครเรียนที่ผู้สมัครดำเนินการชำระผ่านการโอนเงิน และได้ทำการแจ้งข้อมูลการชำระเงินเข้ามาทางระบบ โดยในหน้านี้จะแสดงรายการแจ้งโอนทั้งหมดพร้อมรายละเอียดสำคัญ เช่น ชื่อผู้สมัคร, เลขที่อ้างอิง, ยอดเงินที่โอน, วันที่โอน, หลักฐานการโอน (เช่น สลิปหรือภาพถ่ายการโอนเงิน) รวมถึงสถานะของการตรวจสอบ
  • ผู้ดูแลระบบสามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการโอนกับบัญชีธนาคารปลายทาง และทำการอนุมัติ (อนุมัติรายการแจ้งชำระเงิน) หรือปฏิเสธ (กรณีข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่พบรายการโอน) พร้อมระบุหมายเหตุประกอบได้ เมื่อรายการได้รับการอนุมัติ ระบบจะอัปเดตสถานะการสมัครของผู้สมัครเป็น "ชำระเงินแล้ว" และสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการจัดที่นั่งสอบหรือขั้นตอนถัดไปของระบบสมัครเรียนได้ต่อไป
  • การเข้าหน้าจอนี้ให้เข้าที่เมนู "รายการแจ้งชำระเงิน" แถบแรกจะเป็นเรื่องของการแจ้งชำระเงินของค่าสมัครเรียน
  • ตัวกรองข้อมูล : เลือกรอบสมัครที่จะตรวขสอบรายการชำระเงิน / กรองตามสถานะได้ / ค้นหาชื่อ/เลขที่สมัครในช่องโดยพิมพ์ได้ / ค้นหาช่วงวันที่สมัคร / ค้นหาช่วงันที่แก้ไขสถานะ
  • การจัดการใบแจ้งยอดชำระเงิน หากมีการชำระเงินเข้ามาให้ ให้กดเลือกสถานะ “อนุมัติ”
  • กดที่ไอคอนไฟล์เอกสาร สีน้ำเงินในรายการที่ต้องการแก้ไขสถานะ หน้าจอจะแสดงสถานะปัจจุบัน
  • การคืนค่ากลับไป จะกลับเป็นสถานะ “รอชำระเงิน”
  • สถานะชำระเงินแล้ว มีผลต่อการออกที่นั่งสอบ
  • สถานะมีหลักฐานการชำระเงิน ผู้ปกครองชำระเงินแล้วอัปโหลดเอกสารขึ้นมาในหน้าจอใบแจ้งยอดชำระเงิน(อยุ่ด้านล่างของหน้าจอ) / ในหน้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การเงินนี้จะสามารถอัปโหลดเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้เองด้วย
  • สถานะยกเลิกรายการ เป็นการเคลียรายการออก จะมีถามสาเหตุการยกเลิก

info

ตั้งค่ายอดชำระเงินการศึกษา / เอกสารมอบตัว

เอกสารมอบตัว ม.1 นักเรียนใหม่ (รายงานตัว ม.4)
  • การตั้งค่าที่กำหนดไว้ในหน้านี้จะถูกนำไปใช้แสดงในหน้ารายละเอียดการมอบตัวของนักเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ปกครองในขั้นตอนการมอบตัวให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น จะมีการนำข้อมูลนักเรียนในแบบสารสนเทศแต่ละคน เข้าไปใส่ให้ในแบบฟอร์มมอบตัวอัตโนัมัติ มีไฟล์ ตัวอย่าง Template ของใบมอบตัวนักเรีัยนใหม่ โดยชื่อข้อมูลในฟิลด์ตัวแปร ${...} จะแทนฟิลด์การเก็บจากแบบสารสนเทศเดียวกัน
  • นอกจากนี้จะมี "เอกสารสัญญา" และ "เอกสารแนบท้ายสัญญามอบตัวนักเรียน" เฉพาะนักเรียนใหม่ที่ผ่านจากระบบรับสมัครสอบแล้ว ตามรูปแสดงช่องทางในการแก้ไขไฟล์เอกสารแนบประกอบกับใบมอบตัว โดยไฟล์แนบจะนำไปต่อท้ายขณะที่นักเรียน/ผู้ปกครองกดสั่งพิมพ์ในหน้าจอ และจะแยกไฟล์แนบตามประเภทโครงการ ระดับชั้นที่เปิด เฉพาะม.1/ม.4 นักเรียนใหม่
  • ในหน้าจอนี้จะสามารถอัปโหลดไฟล์ที่ประกอบ ในปุ่มอัปโหลด และคุณสามารถกดตัวอย่างไฟล์ในหน้าจอได้ในปุ่มดาวน์โหลดข้างๆ
  • แสดงตัวอย่างไฟล์ (เลือกข้อมูลนักเรียนเพื่อทดสอบ) สามารถเลือกนักเรียนที่เคยสมัครเข้ามาแล้วที่ต้องการแสดงตัวอย่างไฟล์มอบตัว

ตั้งค่ายอดชำระเงินการศึกษา แยกใบแจ้งยอดแต่ละดับชั้น และประเภทโครงการ
  • ตั้งค่ายอดชำระเงิน หน้าจอนี้ใช้สำหรับผู้ดูแลระบบหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินในการกำหนดยอดชำระเงินการศึกษาสำหรับนักเรียนใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษา และเดิมที่เลื่อนชั่นในแต่ละระดับชั้น โดยสามารถตั้งค่าได้ตามระดับชั้น หรือประเภทโครงการ (เช่น ภาคปกติ หรือโครงการ EP)
  • ระบบโปรแกรมรองรับแยกรายการใบแจ้งชำระเงินออกเป็น 1-4 ประเภทหน่วยงาน เช่น ค่าธรรมเนียมการเรียน, ค่าสมทบหรือบำรุงกิจกรรมสมาคมต่าง ๆ (เช่น สมาคมผู้ปกครองและอาจารย์ / สมาคมศิษย์เก่า), ค่าบริจาคหรือสมทบกองทุน (ตามโครงการ), ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ตามนโยบายของสถานศึกษา
  • โดยในแต่ละรายการ ผู้ดูแลสามารถกำหนดยอดเงิน รายละเอียดการเรียกเก็บ และผูกข้อมูลกับหน่วยงานรับเงินที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน เพื่อความถูกต้องในการบริหารบัญชีแยกประเภท
  • ที่สำคัญ ระบบยัง รองรับการชำระเงินผ่าน QR Code ตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทย (PromptPay QR Code) ซึ่งผู้ปกครองสามารถสแกนจ่ายผ่าน Mobile Banking ได้ทันที ลดขั้นตอน ลดข้อผิดพลาด และสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงินแบบเรียลไทม์ผ่านระบบหลังบ้านในเมนู "รายการแจ้งชำระเงิน"
  • นอกจากนี้ยังสามารถพิมพ์ใบแจ้งยอดชำระพร้อม QR Code สำหรับแนบให้ผู้ปกครองในวันรายงานตัว หรือส่งผ่านระบบออนไลน์ได้อีกด้วย
info

จัดการแจ้งชำระเงินใบแจ้งการชำระเงินทางการศึกษา

ระบบจัดการแจ้งโอนเงินของบิลค่าใช้จ่ายการศึกษาสำหรับนักเรียนปัจจุบันที่เลื่อนชั้น ม.2-6 หรือนักเรียนใหม่ (ผู้สมัครเรียน) โดยระบบสามารถตั้งค่าให้แยกใบแจ้งชำระเงินตามหน่วยงานภายในได้เป็นหลายรายการ เช่น
1. ค่าสมัครสมาชิกสมทบสมาคมศิษย์เก่า
2. ค่าบำรุงสมาคมผู้ปกครองและอาจารย์
3. ค่าสมัครสมาชิกสมทบสมาคมศิษย์เก่า
4. ค่าสมทบกองทุนพัฒนาโรงเรียน (เฉพาะโครงการ EP)

  • หน้าจัดการรายการแจ้งชำระเงินแบบ Bill payment เป็นหน้าสำหรับผู้ดูแลระบบใช้ในการตรวจสอบและอนุมัติการชำระเงินค่าสมัคร/หรือนักเรียนเรียนที่ผู้สมัครดำเนินการชำระผ่านการโอนเงิน และได้ทำการแจ้งข้อมูลการชำระเงินเข้ามาทางระบบ โดยในหน้านี้จะแสดงรายการแจ้งโอนทั้งหมดพร้อมรายละเอียดสำคัญ เช่น ชื่อผู้สมัคร, เลขที่อ้างอิง, ยอดเงินที่โอน, วันที่โอน, หลักฐานการโอน (เช่น สลิปหรือภาพถ่ายการโอนเงิน) รวมถึงสถานะของการตรวจสอบ
  • ผู้ดูแลระบบสามารถดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการโอนกับบัญชีธนาคารปลายทาง และทำการอนุมัติ (อนุมัติรายการแจ้งชำระเงิน) หรือปฏิเสธ (กรณีข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่พบรายการโอน) พร้อมระบุหมายเหตุประกอบได้ เมื่อรายการได้รับการอนุมัติ ระบบจะอัปเดตสถานะการสมัครของผู้สมัครเป็น "ชำระเงินแล้ว" และสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนการจัดที่นั่งสอบหรือขั้นตอนถัดไปของระบบสมัครเรียนได้ต่อไป
  • การเข้าหน้าจอนี้ให้เข้าที่เมนู "รายการแจ้งชำระเงิน" แถบแรกจะเป็นเรื่องของการแจ้งชำระเงินของค่าสมัครเรียน
  • ตัวกรองข้อมูล : เลือกรอบสมัครที่จะตรวขสอบรายการชำระเงิน / กรองตามสถานะได้ / ค้นหาชื่อ/รหัสประจำตัวนักเรียนในช่องโดยพิมพ์ได้ / ค้นหาช่วงันที่แก้ไขสถานะ
  • การจัดการใบแจ้งยอดชำระเงิน หากมีการชำระเงินเข้ามาให้ ให้กดเลือกสถานะ “อนุมัติ”
  • กดที่ไอคอนไฟล์เอกสาร สีน้ำเงินในรายการที่ต้องการแก้ไขสถานะ หน้าจอจะแสดงสถานะปัจจุบัน
  • การคืนค่ากลับไป จะกลับเป็นสถานะ “รอชำระเงิน”
  • สถานะชำระเงินแล้ว มีผลต่อการออกที่นั่งสอบ
  • สถานะมีหลักฐานการชำระเงิน ผู้ปกครองชำระเงินแล้วอัปโหลดเอกสารขึ้นมาในหน้าจอใบแจ้งยอดชำระเงิน(อยุ่ด้านล่างของหน้าจอ) / ในหน้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่การเงินนี้จะสามารถอัปโหลดเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้เองด้วย
  • สถานะยกเลิกรายการ เป็นการเคลียรายการออก จะมีถามสาเหตุการยกเลิก
info

รายชื่อห้องสอบสำหรับจัดผู้สมัครสอบ

  • ให้เข้าที่เมนู "จัดการข้อมูลรอบสมัคร" → แถบเมนู "รายชื่อห้องสอบ"
  • หน้าจอ "จัดการรายชื่อห้องสอบ" เป็นส่วนสำคัญของระบบสมัครเรียนออนไลน์ที่ใช้สำหรับบริหารจัดการข้อมูลห้องสอบที่ใช้ในกระบวนการสอบคัดเลือก พร้อมระบุรายละเอียดสำคัญ เช่น รหัสห้องสอบ ชื่อห้องสอบ สถานที่ตั้ง จำนวนที่นั่งที่รองรับ รวมถึงกลุ่มผู้สมัครที่สามารถเข้าสอบในห้องนั้น
  • การทำงานของสุ่มที่นั่งสอบจะจัดนักเรียนที่มีเลขที่นั่งสอบตามข้อมูลแต่ละแถว (เลขที่นั่งสอบเริ่มต้น - เลขที่นั่งสอบสิ้นสุด), ตามจำนวนที่กำหนด
  • ระบบยังรองรับการกำหนดจำนวนผู้เข้าสอบสูงสุดต่อห้อง เพื่อใช้ในการควบคุมความหนาแน่นและจัดสรรผู้สมัครให้เหมาะสมตามจำนวนที่นั่งที่มีอยู่จริง โดยข้อมูลในส่วนนี้จะถูกเชื่อมโยงกับระบบสุ่มที่นั่งสอบและรายงานสรุปต่าง ๆ เพื่อให้การบริหารจัดสอบมีความถูกต้อง เป็นระบบ และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • คอลัมภ์ข้อมูลประกอบด้วย : ลำดับที่ สถานที่สอบโรงเรียน อาคาร ชั้น ห้องสอบ เลขที่นั่งสอบเริ่มต้น เลขที่นั่งสอบสิ้นสุด จำนวน ลบ?
  • การนำเข้าข้อมูลตารางห้องสอบเข้าระบบ มีตัวอย่างไฟล์ให้ Download และทำตาม โดยมีคอลัมภ์เรียงตามรายการดังนี้ : ชื่อสถานที่ / อาคาร / ชั้น / ห้องสอบ / เลขที่สมัครเริ่มต้น / เลขที่สิ้นสุด / จำนวน เป็นคีย์ในการแยกรายการ
  • รูปแบบไฟล์ต้องเป็นไฟล์ Spreadsheet / Excel (XLS, XLSX) หรือค่าที่คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค "," (CSV) ข้อมูลที่ใช้ประมวลผลจะเริ่มแถวที่ 2
info

ผลคะแนนสอบรายวิชา (Pre-Test)

  • หน้าจอการ นำเข้าข้อมูลผลสอบ Pretest เป็นเครื่องมือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการบันทึกคะแนนสอบของนักเรียนเข้าสู่ระบบ โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Excel ที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ตามรูปแบบมาตรฐานที่กำหนด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง
  • เจ้าหน้าที่สามารถนำไฟล์ในรูปแบบของโรงเรียนกำหนด ตามภาพ เข้าเป็นข้อมูลตามรอบที่สมัครของ Pretest โดยเรียงลำดับคอลัมภ์ข้อมูลเรียงตามรายการดังนี้ : เลขที่นั่งสอบ, คำนำหน้าชื่อ, ชื่อ,​นามสกุล, คณิตศาสตร์, Tคณิตศาสตร์, ลำดับที่, วิทยาศาสตร์ ,Tวิทยาศาสตร์ ,ลำดับที่ ,ภาษาไทย, Tภาษาไทย, ลำดับที่, สังคมศึกษา, Tสังคมศึกษา, ลำดับที่, Tเฉลี่ย 4 วิชา, ลำดับที่, ภาษาอังกฤษ, Tภาษาอังกฤษ ,ลำดับที่, Tเฉลี่ย 5 วิชา, ลำดับที่ เป็นไฟล์ Excel
  • เลขที่นั่งสอบ จะเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูลผู้สมัครสอบ
  • เมื่อเตรียมไฟล์ข้อมูลตามลำดับคอลัมน์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถคลิกเลือกไฟล์ และอัปโหลดเข้าสู่ระบบผ่านหน้าจอนี้ได้โดยตรง ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้น เช่น ความครบถ้วนของข้อมูลและรูปแบบของไฟล์ ก่อนดำเนินการบันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้งานในรายงานผลการสอบ และสถิติต่าง ๆ ภายในระบบได้ทันที
ตารางผลคะแนนที่นำเข้าแยกตามรายบุคคลหัวข้อคะแนน
  • ด้านล่างเป็นตารางคำนวณสรุปสถิติจำนวนผู้เข้าสอบ คะแนนรวม, สูงสุด, ต่ำสุด และคะแนนเฉลี่ยนของแต่ละวิชา
  • สามารถกดดูตัวอย่่างไฟล์นำเข้าได้ที่ปุ่มเทาด้านล่าง
info

นำเข้าผลสอบ ม.1/ม.4

  • หน้าจอการ นำเข้าข้อมูลผลสอบสมัครเข้าเรียนทั่วไป เป็นเครื่องมือสำหรับเจ้าหน้าที่ในการบันทึกคะแนนสอบของนักเรียนเข้าสู่ระบบ โดยสามารถนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Excel ที่โรงเรียนจัดเตรียมไว้ตามรูปแบบมาตรฐานที่กำหนด เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลด้วยตนเอง
  • ผลการสอบจะไม่มีรายะละเอียดของแต่ละวิชา ให้เป็นการสรุปผลการสอบข้อเขียน และผลสอบสัมภาษณ์เป็น Text (ไม่มีคะแนนประกาศ) ลงในช่องที่กำหนดให้สามารถประกาศได้สองครั้ง
  • เจ้าหน้าที่สามารถนำไฟล์ข้อมูลผลสอบ แยกประเภทประกาศผลได้สองครั้ง คือ ผลสอบข้อเขียน และผลสอบสัมภาษณ์ ตามรูปแบบในภาพ หรือดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง
  • เมื่อเตรียมไฟล์ข้อมูลตามลำดับคอลัมน์ดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่สามารถคลิกเลือกไฟล์ และอัปโหลดเข้าสู่ระบบผ่านหน้าจอนี้ได้โดยตรง ระบบจะทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้น เช่น ความครบถ้วนของข้อมูลและรูปแบบของไฟล์ ก่อนดำเนินการบันทึกเข้าสู่ฐานข้อมูล
  • ถ้ามีการประกาศผลสอบอย่างเดียวครั้งเดียวให้ใช้ "ประเภทผลสอบ" → "ผลสอบสัมภาษณ์" เพื่อเชื่อมต่อให้ผู้สมัครเข้าหน้าการบันทึกแบบสารสนเทศและมอบตัวตามลำดับ
  • จากนั้นให้เลือกไฟล์ที่เตรียมไว้ขึ้นโดยระบบอ่านและประมวลผลตามตัวแปรที่กำหนดทันที หลังเลือกไฟล์แล้ว
  • ข้อมูลที่อัปโหลด หากไม่พบรายชื่อในไฟล์จะให้ผลสอบ "ไม่ผ่าน"
  • สามารถกดดูตัวอย่่างไฟล์นำเข้าได้ที่ปุ่มเทา
info

ข้อสารสนเทศนักเรียน และใบมอบตัว/รายงานตัว

หน้าจอแบบบันทึกสารสนเทศนักเรียน เป็นแบบฟอร์มสำหรับให้นักเรียนกรอกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินการภายในสถานศึกษาหลังสอบสัมภาษณ์ผ่านแล้ว ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดทำทะเบียนประวัติ การวางแผนสนับสนุนด้านการเรียนรู้ หรือการใช้ประกอบข้อมูลเชิงสถิติของโรงเรียน ในหน้าจอนี้ ผู้ใช้งาน (นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่) จะสามารถกรอกและบันทึกข้อมูลได้หลากหลายหมวด เช่น
- ข้อมูลภาษาอังกฤษ
- ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน, ข้อมูลการศึกษาเดิม: โรงเรียนเดิม แผนการเรียน ผลการเรียนเฉลี่ย วันเดือนปีเกิด ศาสนา หมู่เลือ, ที่อยู่: ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน ที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์ติดต่อ
- ตอนที่ 2 ข้อมูลครอบครัว: ชื่อบิดา มารดา ผู้ปกครอง อาชีพ รายได้
- ตอนที่ 3 เรื่องอื่น ๆ และการส่งแบบฯ : ข้อมูลด้านสุขภาพ, หรือกเรียนมีความถนัด / ความสามารถพิเศษในด้านใดบ้าง / กิจกรรม / ผลงาน / รางวัล ที่นักเรียนเคย ร่วม / ได้รับ / นักเรียนใช้เวลาว่าง(ถ้ามี)
- E-doc อัปโหลดไฟล์เอกสาสำคัญ ได้แก่ อัปโหลดเอกสารประกอบสัมภาษณ์ (บังคับ / สำเนาเอกสารนำแสดงในวันสัมภาษณ์)
1.1. สำเนาทะเบียนบ้านนักเรียน พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา (สำเนาหน้ารายการเกี่ยวกับบ้านและหน้าที่มีชื่อนักเรียน)*
1.2 สำเนาทะเบียนบ้านบิดา พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา (สำเนาหน้ารายการเกี่ยวกับบ้านและหน้าที่มีชื่อบิดา)*
1.3 สำเนาทะเบียนบ้าน มารดา พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา (สำเนาหน้ารายการเกี่ยวกับบ้านและหน้าที่มีชื่อมารดา)*
1.4 สำเนาสูติบัตร พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา *
1.5 หลักฐานแสดงการเป็นนักเรียนชั้น ป.6 ปีการศึกษาปัจจุบัน พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา
1.6 สำเนาใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1:ป ) พร้อมลงชื่อรับรองสำเนา
ระบบจะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้อย่างเป็นระบบ สามารถเรียกดู แก้ไข หรือนำออกในรูปแบบรายงานได้ตามสิทธิ์ของผู้ใช้งาน ทั้งยังเชื่อมโยงกับระบบอื่น เช่น ระบบทะเบียนนักเรียน หรือระบบรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลนักเรียนเป็นไปอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และทันสมัย


  • ในหน้าจัดการรอบการสมัคร การตั้งค่า "สถานะการรับ" เปิดกรอกแบบข้อสารสนเทศ เพื่อสัมภาษณ์ การมอบตัว และใบแจ้งชำระเงินค่าเทอม ของรอบที่ต้องการเปิดบันทึกแบบสารสนเทศ โดยการตั้งค่าจะเป็นการเปิดปุ่มให้เข้าหน้าจอ โดยนักเรียนที่สมัครผ่านจะเข้าบันทึกแบบข้อสารสนเทศ, ใบมอบตัว (พิมพ์ใบได้) และเข้าใบแจ้งชำระเงินค่าเทอม ทั้งนี้สามารถเปิดปิดปิดได้ตามช่วงเวลาที่โรงเรียนประกาศ
  • สำหรับแบบมอบตัวสำหรับนักเรียนใหม่ (ม.1, หรือ ม.4) ข้อมูลกรอกสารสนเทศครบถ้วยแล้ว จะสามารถเข้าหน้าจอมอบตัวเป็นการยืนยันและสั่งพิมพ์เอกสารประกอบที่ใช้ในวันเปิดเทอมหรือตามประกาศของโรงเรียนได้ สามารถดูตัวอย่างหน้าจอการมอบตัว
ตัวอย่างผลการเปิดระบบปุ่มจะปรากฏปุ่มเพื่อลิงค์ไปยังแบบฟอร์มให้ผู้สมัครบันทึกแบบสารสนเทศ และใบมอบตัว ตัวอย่างใบแจ้งชำระเงินทางการศึกษาจะปรากฎแถบปุ่มแยกประเภทค่าใช้จ่าย (ได้สูงสุด 4 หน่วยงาน)
info

สถิติข้อมูลการสมัครสอบ จำนวนผู้สมัครแยกตามโรงเรียน

  • ให้เข้าที่เมนู "จัดการข้อมูลรอบสมัคร" → แถบเมนู "สถิติข้อมูลการสมัครสอบ"
  • หน้าจอแสดงจำนวนผู้สมัครแยกตามโรงเรียนของผู้สมัคร เป็นฟีเจอร์ที่ใช้สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติของนักเรียนที่สมัครเข้ามายังสถานศึกษา โดยระบบจะรวบรวมและจัดกลุ่มผู้สมัครตามโรงเรียนต้นสังกัดของแต่ละคน และแสดงผลในรูปแบบเรียงลำดับจากโรงเรียนที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุดลงไปยังโรงเรียนที่มีจำนวนน้อยกว่า
  • ข้อมูลนี้ช่วยให้ผู้ดูแลระบบหรือผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้มของโรงเรียนที่ให้ความสนใจสมัครเรียนเข้ามามากที่สุด เพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรมแนะแนว ประชาสัมพันธ์ หรือสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนต้นทางในอนาคต นอกจากนี้ ระบบยังสามารถกรองข้อมูลตามปีการศึกษา ระดับชั้น หรือรอบการสมัครได้อย่างยืดหยุ่น
  • มีผู้สมัครที่ชำระเงินแล้วทั้งหมด แยกชาย/หญิง
  • ตัวกรองข้อมูล : รอบสมัคร และสถานะการชำระเงิน
info

สถิติข้อมูลการสมัครสอบ จำนวนผู้สมัครแยกตามจังหวัด

  • ให้เข้าที่เมนู "จัดการข้อมูลรอบสมัคร" → แถบเมนู "จำนวนผู้สมัครแยกตามจังหวัด"
  • ฟีเจอร์ "จำนวนผู้สมัครแยกตามจังหวัด" เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถดูข้อมูลสถิติผู้สมัครเรียนได้อย่างชัดเจน โดยระบบจะแสดงจำนวนผู้สมัครที่มาจากแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ พร้อมแยกรายละเอียดตามโรงเรียนต้นสังกัดของนักเรียนที่สมัครเข้ามา
  • ในหน้าจอนี้ โปรแกรมจะทำการรวบรวมและจัดกลุ่มข้อมูลโดยอัตโนมัติ แสดงผลในรูปแบบตารางหรือกราฟ (ตามที่ระบบรองรับ) โดยเรียงลำดับจากโรงเรียนที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุดลงไปยังจำนวนน้อย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการสมัครในแต่ละพื้นที่ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ
  • ฟีเจอร์นี้เหมาะสำหรับการใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนประชาสัมพันธ์ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย หรือการรายงานต่อหน่วยงานบริหาร
  • มีผู้สมัครที่ชำระเงินแล้วทั้งหมด แยกชาย/หญิง
  • ตัวกรองข้อมูล : รอบสมัคร และสถานะการชำระเงิน